หมวดหมู่: สภาอุตสาหกรรม

1aaa1CEOSurvey


ส.อ.ท.-นิด้า เผยผลสำรวจ CEO Survey มองก้ำกึ่งแนวโน้มศก.ไทย H2/61 ขยายตัวและทรงตัว ชี้ส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนลงทุนเพิ่ม

      ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล'สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ 'สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย' (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เรื่อง CEO Survey ทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมครึ่งหลัง ปี 2561’พบว่า ผู้บริหารระดับสูง 41.98% ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะขยายตัว, ผู้บริหาร 43.21% ระบุว่า ทรงตัว และ 14.81% ระบุว่า หดตัว

    โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะขยายตัวนั้น 61.77% ระบุว่า จะขยายตัว 1-5%, 14.71% ระบุว่า ขยายตัว 6-10%, 11.76% ระบุว่า ขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ส่วนในจำนวนผู้ที่ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะหดตัวนั้น 41.67% ระบุว่า จะหดตัว 1-5%, 16.67% ระบุว่า หดตัว 6-10%, 33.33% ระบุว่า หดตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และ 8.33% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

      ด้านการคาดการณ์ของผู้บริหารระดับสูงต่อทิศทางแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 พบว่า ผู้บริหารระดับสูง 43.21% ระบุว่า จะขยายตัว, 40.74% ระบุว่า ทรงตัว และ 16.05% ระบุว่า จะหดตัว โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะขยายตัวนั้น 54.29% ระบุว่า จะขยายตัว 1-5%, 22.86% ระบุว่า จะขยายตัว 6-10%, 5.71% ระบุว่า จะขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และ 17.14% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ส่วนในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะหดตัวนั้น 38.46% ระบุว่า จะหดตัว 1-5%, 23.08% ระบุว่า จะหดตัว 6-10% และจะหดตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน และ 15.38% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

       สำหรับ การคาดการณ์ของผู้บริหารระดับสูงต่อทิศทางแนวโน้มการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 พบว่า ผู้บริหารระดับสูงที่มีการส่งออก 58.82% ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะเพิ่มขึ้น 22.06% ระบุว่า ทรงตัว และ 19.12% ระบุว่า จะลดลง โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะเพิ่มขึ้นนั้น 40.00% ระบุว่า จะเพิ่มขึ้น 1-5%, 35.00% ระบุว่า จะเพิ่มขึ้น 6-10%, 15.00% ระบุว่า จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ขึ้นไป และ 10.00% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ส่วนในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะลดลงนั้น 53.85% ระบุว่า จะเพิ่มขึ้น 1-5%, 7.69% ระบุว่า จะเพิ่มขึ้น 6-10%, 15.38% ระบุว่า จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ขึ้นไป และ 23.08% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

      เมื่อถามถึงการคาดการณ์ของผู้บริหารระดับสูงต่อแผนการลงทุน ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 41.98% ระบุว่า ไม่มีแผนการลงทุน รองลงมา 40.74% ระบุว่า มีแผนการลงทุนในประเทศ 13.58% ระบุว่า มีแผนการลงทุนต่างประเทศ และ 3.70% ระบุว่า มีแผนการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     ด้านประเทศที่ผู้บริหารระดับสูงมีแผนการลงทุน พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 64.29% ระบุว่า มีแผนการลงทุนใน CLMV 21.43% ระบุว่า มีแผนการลงทุนในสหภาพยุโรป และ 14.28% ระบุว่า มีแผนการลงทุนในประเทศจีน

       สำหรับ ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการ ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 (3 อันดับแรก) พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ อันดับ 1 (23.46%) ระบุว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รองลงมา อันดับ 2 (21.19%) ระบุว่า ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ช่วยสนับสนุนการส่งออก และอันดับ 3 (19.34%) ระบุว่า การส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

     เมื่อถามถึงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการ ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 (3 อันดับแรก) พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ อันดับ 1 (22.76%) ระบุว่า กำลังซื้อในประเทศ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ รองลงมา อันดับ 2 (19.51%) ระบุว่า ราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตโดยรวม และอันดับ 3 (10.77%) ระบุว่า การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากตลาดในประเทศ

      ด้านการวางแผนของผู้บริหารระดับสูงในการดำเนินกิจการ ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 (3 อันดับแรก) พบว่า ผู้บริหารระดับสูง ส่วนใหญ่ อันดับ 1 (28.60% ระบุว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต รองลงมา อันดับ 2 (22.43%) ระบุว่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า การลงทุนพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิตใหม่ และอันดับ 3 (17.90%) ระบุว่า เร่งพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานสินค้า ให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

       ท้ายสุด เมื่อถามถึงสิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ (3 อันดับแรก) พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ อันดับ 1 (18.70%) ระบุว่า ดูแลค่าเงินบาท ไม่ให้แข็งค่ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รองลงมา อันดับ 2 (17.89%) ระบุว่า สนับสนุนผู้ประกอบการในการสร้างนวัตกรรม เพื่อยกระดับสินค้าไทยสู่ตลาดโลก และอันดับ 3 (13.82%) ระบุว่า สนับสนุนการเตรียมความพร้อมด้านกำลังแรงงานและคุณภาพแรงงานให้เพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวของภาคการผลิต

      ทั้งนี้ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ ส.อ.ท. ได้สอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูง (CEO) ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้นจำนวน 81 ราย เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมครึ่งหลังปี 2561 ในมุมมองของผู้บริหาร (Chief Executive Officer: CEO) ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 มิ.ย.-10 ก.ค.61

              อินโฟเควสท์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!