หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
Asia Plus Group Holding
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
ผลประกอบการงวด 1H62 ของบริษัทจดทะเบียนทำได้ที่ 4.82 แสนล้านบาท คิดเป็น 46.9% ของประมาณการทั้งปี ทำให้นักวิเคราะห์ต้องปรับลดประมาณการลงจากเดิม 2.69% มาอยู่ที่ 9.99 แสนล้าบบาท คิดเป็น EPS 100.54 บาท/หุ้น หากกำหนดเป้าหมายอย่างอนุรักษ์นิยม จะให้ค่า PER ที่ 16.45 เท่า หรือ 1654 จุด วันนี้มีการปรับพอร์ตโดยลด MCS และ POPF ลงอย่างละ 5% มาใส่หุ้น DRT Top Picks เลือก BCH (FV@B21) และ DRT (FV@B 6.58)
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …ทยอยปรับตัวลงตลอดวัน
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวลงตลอดวัน จากประเด็น GDP Growth งวด 2Q62 ที่ออกมาต่ำกว่าตลาดฯคาดอยู่ที่ 2.3% จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1625.57 จุด ลดลง 11.69 จุด (-0.71%) มูลค่าการซื้อขาย 5.68 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มพลังงานเช่น EA(-1.55%) PTT(-1.16%) PTTEP(-1.62%) กลุ่มธ.พ.เช่น BBL(-2.31%) KBANK(-1.86%) SCB(-2.36%) และกลุ่มขนส่งอย่างเช่น AOT(-1.75%) BEM(-2.68%)  BTS(-0.78%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น SCC(-1.45%) PTTGC(-2.76%) และ CPN(-1.86%) เป็นต้น 
 
งวด 1H62 บริษัทจดทะเบียนทำกำไรสุทธิรวมได้ที่ 4.82 แสนล้านบาท ลดลง 13.15% YoY และคิดเป็นสัดส่วน 46.9% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2562 ซึ่งฝ่ายวิจัยได้ทำประมาณการไว้ที่ 1.027 ล้านล้านบาท ถือว่าเป็นผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย และหลังจากที่นักวิเคราะห์ของ ASPS ได้ทำ Company Visit หลังการประกอบงบแล้วพบว่าหลายบริษัทต้องดำเนินการปรับประมาณการกำไรสุทธิซึ่งมีทั้งปรับเพิ่มชึ้นและ ลดลง โดยในส่วนของบริษัทที่ปรับประมาณการขึ้นส่วนใหญ่มาจากการบันทึกรายการพิเศษจากการขายสินทรัพย์ –  เงินลงทุน อย่างเช่น TRUE, CPF, SCB เป็นต้น ส่วนบริษัทที่ถูกปรับลดประมาณการอยู่ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น PTTGC, SCC, IVL, IRPC และ BANPU และยังมีกลุ่มธุรกิจสายการบินเช่น THAI, BA และ AAV ส่วนผลสรุปรวมของการปรับประมาณการพบว่าทำให้ฐานกำไรสุทธิรวมปี 2562 ของบริษัทจดทะเบียนลดลงจากประมาณการเดิม 2.76 หมื่นล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิตามประมาณการใหม่อยู่ที่ 9.99 แสนล้านบาท และเมื่อแปลงเป็นกำไรสุทธิจะได้ที่ 100.54 บาท/หุ้น ลดลงจากเดิม 103.32 บาท/หุ้น ทั้งนี้หากยืนระดับค่า PER ตามเป้าหมายเดิมอย่างอนุรักษ์นิยมที่ 16.45 เท่า จะได้ SET Index เป้าหมายที่ 1654 จุด และอาจปรับขึ้นไปได้ที่ PER 17.3 เท่าได้ หาก Fund Flow ไหลกลับเข้าตลาดหุ้นใหม่อีกรอบ ซึ่งคำนวนออกมาเป็น SET Index ได้ที่ 1740 จุด สำหรับกลยุทธ์ลงทุนวันนี้ฝ่ายวิจัยได้ทำการปรับพอร์ตโดย ขายทำกำไรหุ้น MCS ออก 5% พร้อมลดน้ำหนักใน POPF ลง 5% และนำน้ำหนักการลงทุนที่ได้ใส่เข้าไปในหุ้น DRT ซึ่งเป็นหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูง และมีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
 
ตลาดให้หนัก Fed minutes และประชุม Jackson Hole  
ต่างประเทศยังคงให้น้ำหนักกับสงครามการค้าสหรัฐกับจีน ที่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกอยู่  และฝั่งยุโรป ความไม่แน่นอนทางการเมืองของหลายประเทศเริ่มสูงขึ้น  อาทิ ปัญหา Brexit ที่มีโอกาสสูงที่จะออกจากยุโรปแบบ No deal  และล่าสุด คือ อิตาลีวานนี้นายกรัฐมนตรีอิตาลีปัจจุบันได้ประกาศลาออก ทำให้มีความเสี่ยงเลือกตั้งใหม่ต่อไป ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ
 
ความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น  ทำให้ตลาดคาดหวังว่า ธนาคารกลางหลักทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐและ ยุโรปจะเดินหน้าผ่อนคลายทางการเงิน   โดยให้น้ำหนักช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้     22 ส.ค. ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะเผยแพร่รายงานการประชุม (Fed Minute) ของรอบประชุมรอบ  31ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรอบที่ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 11 ปี โดยปรับลง 0.25% อยู่ที่ 2.25% โดยในรายงานจะมีเนื้อหาที่บ่งชี้ถึงสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐในการประชุม Fed ที่เหลืออีก 3 ครั้งของปีนี้ ทั้งนี้ จากความเสี่ยงสงครามการค้าที่ยังคงอยู่ หนุนให้ตลาดคาดว่า Fed จะยังมีโอกาสลดดอกเบี้ย สะท้อนจากผลสำรวจใน Bloomberg คาดมีโอกาสลดดอกเบี้ยในรอบการประชุมเดือน ก.ย.  100%  โดยคาดลด 0.25% ประมาณ 90% และคาดลด 0.5% ประมาณ 10% 
 
และ 22-24 ส.ค. ให้น้ำหนักการประชุม Jackson Hole ซึ่งเป็นการประชุมผู้ว่าการธนาคารกลาง และรัฐมนตรีการคลังจากทั่วโลก อาทิ ประธาน Fed นาย Jerome Powell, ประธาน ECB นาย Mario Draghi, ประธาน BOJ นาย Haruhiko Kuroda เป็นต้น โดยให้น้ำหนักการกล่าวสุนทรพจน์ของประธาน Fed 23 ส.ค. ว่าจะมีการส่งสัญญาณนโยบายเพิ่มหรือไม่และให้น้ำหนักท่าทีของประธาน ECB ด้วย ซึ่งหากมีการส่งสัญญาณผ่อนคลายการเงินมากกว่าคาด จะเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นโลก
Fund Flow ไหลออกทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทย กดดันบาทชะลอแข็งค่า
 
วานนี้ (20 ส.ค.2562) เป็นวันแรกที่การลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุนรวมจะถูกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% บนดอกเบี้ย ซึ่งยังไม่เห็นผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ สังเกตได้จากปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ของกองทุนรวมในวานนี้ยังคงอยู่ในระดับปกติที่ 5.98 หมื่นล้านบาท (ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในเดือน ส.ค.ราว 5.0 หมื่นล้านบาท) นอกจากนี้ยังเป็นการซื้อสุทธิต่อเนื่องทั้งในตราสารระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 28,993 ล้านบาท และ 3,816 ล้านบาท ตามลำดับ
ในส่วนของแรงซื้อตราสารหนี้ไทยจากต่างชาติ ปกติแล้วช่วงตลาดหุ้นผันผวน นักลงทุนโยกเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น แต่กลับเห็นแรงขายตราสารหนี้ไทยจากต่างชาติอย่างต่อเนื่องปริมาณกว่า 2.41 หมื่นล้านบาท หลังจาก กนง.มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงถึงปัจจุบัน (8 - 20 ส.ค. 2562) ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการขายทำกำไร รวมถึงผลตอบแทนในการลงทุนกลับลงมาต่ำกว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อย่าง สหรัฐ ทำให้เห็นการโยกเม็ดเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แรงขายดังกล่าวกดดันให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยปรับตัวขึ้นมาจากจุดต่ำสุดตลอดกาล 1.47% โดยไต่ระดับขึ้นมาจนล่าสุดอยู่ที่ 1.54% ใกล้เคียงกับ Bond Yield 10 ปี สหรัฐ 1.56%
 
สรุปคือ ภาพรวมตลาดการเงินในประเทศ ยังถูกกดดันจากเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลออกทั้งจากตลาดหุ้นไทยในเดือน ส.ค. 2562 กว่า 4.76 หมื่นล้านบาท (mtd) และไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ หลัง กนง.ลดดอกเบี้ย ตราบใดที่ Fund Flow ยังไหลออกจะกดดันให้ค่าเงินบาทมีโอกาสชะลอการแข็งค่า แม้ตลาดคาดว่า Fed มีโอกาสลดดอกเบี้ยในช่วง 18 – 19 ก.ย. 2562 นี้ก็ตาม ส่วนผลกระทบจากการเก็บภาษีจากผลตอบแทนกองทุนรวมตราสารหนี้ ยังไม่ชัดเจน แต่ต้องคอยติดตามผลลัพธ์ต่อจากนี้
 
มาตรการกระตุ้นการบริโภคท่องเที่ยว ลงทุนเอกชน มาตามนัด!! 
ที่ประชุม ครม. วานนี้ได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินทั้งหมด  3.16 แสนล้านบาท  หรือ ( 2%ของ GDP ไทยปี 2561)  ซึ่งเป็นไปตามที่นำเสนอในช่วงต้นสัปดาห์ทุกมาตรการ  โดยมุ่งไปที่ 3 กลุ่ม คือ การบริโภคครัวเรือน  ท่องเที่ยว และ การลงทุนเอกชน  
 
ดังที่ ASPS นำเสนอว่ามาตรการที่น่าจะเร่งด่วนและอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจได้ทันที จะมีเพียงราว 3-4 หมื่นล้านบาท (หรือ  0.25% ของ GDP ไทย ปี 2561)  คือ เพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการเป็น 1,000 บาท จาก 500 บาท ซึ่งจะเริ่ม ส.ค.-ก.ย. และอัดฉีดเงิน 1,000 บาท/คน รวม 10 ล้านคนท่องเที่ยวที่มิใช่ภูมิลำเนา ซึ่งจะเริ่ม 27 ก.ย.- 30 พ.ย.2562 เป็นต้น      ซึ่งไม่น่าเพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 2H62    
 
 โดย ASPS ให้น้ำหนักมาตรการกระตุ้นรอบที่ 2 ของรัฐบาลที่ จะเสนอครม. วันที่ 30 ส.ค. ซึ่งคาดว่าจะมุ่งไปที่การดึงดูดการลงทุนเอกชน และต่างชาติ และที่จะเตรียมย้ายฐานการผลิตเพื่อหนีสงครามการค้า  เป็นต้น  โดยเฉพาะ  BOI  และคาดหวังการผ่อนปรนการค้า ภาคธุรกิจ ผ่อนปรนกฎระเบียบ อาทิ หาบเร่แผงลอย ,  การประมง ที่ปัจจุบันเข้มงวด  และเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องเร่งออกมาตรการการบริโภคอื่น อาทิ ช็อปช่วยชาติ, การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลง 10% (กำลังพิจารณา)  เป็นต้น  โดยรวมจะดีต่อ  หุ้นกลุ่มนิคม AMATA และกลุ่มค้าปลีก (ROBINS BJC) และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เช่น DCC และ DRT ได้รับผลบวกจากมาตรการเช่นกัน
 
โดยชื่นชอบ DRT (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) เจ้าของผลิตภัณฑ์แบรนด์  “กระเบื้องตราเพชร” เชื่อว่าจะได้รับประโยชน์โดยตรง หนุนกำไรปี 2562 เติบโต 13.8%yoy อยู่ที่  423 ล้านบาท เป็น 481 ล้านบาท  และมีจุดเด่นจากลุ้นปันผลระหว่างกาล 0.2 บาท/หุ้น เดือนสิงหาคมนี้ คิดเป็น Dividend Yield 3.3% และปัจจุบัน ปัจจุบัน PER ซื้อขายไม่แพงอยู่ที่ 12.9x
 
ปรับลดกำไรตลาด 2.7% ... EPSปี 62 อยู่ที่ 100.54 บาท/หุ้น
ผลประกอบการงวด 2Q62 ของบริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวมกัน 2.16 แสนล้านบาท ปรับตัวลดลงถึง 18.7%qoq จากฐานกำไร 1Q61 ซึ่งอยู่ที่ 2.66 แสนล้านบาท และลดลง 17.1%yoy จากฐานกำไรงวด 2Q61 ที่ 2.61 แสนล้านบาท นับเป็นการหดตัวที่ค่อนข้างมาก ทำให้ภาพรวมกำไรสุทธิ 1H62 อยู่เพียง 4.83 แสนล้านบาท (คิดเป็น 46.79% ของประมาณการฯ ทั้งปี 2562 ที่ 1.03 ล้านล้านบาท) ลดลง 13.15% เมื่อเทียบกับฐานเดียวกันของปีก่อน (1H61) และเพื่อสะท้อนสถานการณ์ปัจจุบันรวมถึงปัจจัยเฉพาะ จึงนำไปสู่การปรับเพิ่ม/ลด ประมาณการฯ โดยพอสรุปได้ดังนี้
•    หุ้น 10 อันดับแรกที่มีการปรับเพิ่มประมาณการฯ ได้แก่ TRUE (ภาพธุรกิจดีขึ้น และกำไรพิเศษขายทรัพย์สินใน 3Q62), SCB (ขายเงินลงทุน SCB Life) และ KTB (รายได้พิเศษจากการขายทอดตลาดหลักประกันที่ดินของ AQ)  ขณะที่ CPF,  ADVANC เกิดจากภาพธุรกิจที่ฟื้นตัวขึ้นชัดเจน
•    หุ้น 10 อันดับแรกที่มีการปรับลดประมาณการฯ ได้แก่ หุ้นที่กำไรผันผวนตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อีกทั้งยังถูกกดดันจากปัญหาสงครามการค้าซึ่งส่งผลให้ Demand ลดลง นำโดยหุ้น PTTGC SCC, IVL, IRPC, BANPU ตามด้วยกลุ่มขนส่งทางอากาศทุกราย THAI, BA, AAV ผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรงและต่อเนื่อง
 
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา กนง. ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1.5% ถือเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย และทำให้ ธ.พ. ต้องมีการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ตาม ซึ่งมีผลกระทบต่อประมาณการฯกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปี 2562-63 ลง 3.8% และ 5.2% 
 
และเมื่อรวมกับการปรับประมาณการฯ รายบริษัทข้างต้น ทำให้กระทบต่อประมาณการฯ รวมของตลาดปี 2562 เดิมที่ 1.03 ล้านล้านบาท ลดลง 2.7% มาอยู่ที่ 9.99 แสนล้านบาท คิดเป็น EPS 100.54 บาท/หุ้น (เดิม 103.32 บาท/หุ้น) ทำให้ดัชนีเป้าหมาย SET Index ใหม่ลดลงมาอยู่ที่ราว 1609 – 1654 จุด อิง P/E 16 - 16.45 เท่า
 
ภรณี ทองเย็น, CISA 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 
 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!