หมวดหมู่: น้ำมัน-แก๊ส

OIL22


ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังกลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรมีมติปรับเพิ่มกำลังการผลิตท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19สายพันธุ์เดลต้าในหลายพื้นที่ทั่วโลก

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 26 กรกฎาคม 2564

                         

ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 70-75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 71-76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

                                          

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ ( 26 – 30 ก.ค. 64)

      ราคาน้ำมันดิบมีปรับขึ้นเล็กน้อยหลังเกิดการเทขายอย่างมากเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาแต่ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 72-74 เหรียญต่อบาร์เรล สำหรับน้ำมันดิบเบรนท์หลังมีความต้องการซื้อกลับมาในตลาด อย่างไรก็ตามตลาดยังให้ความสนใจกับมาตรการปรับเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบและประเทศพันธมิตรหรือโอเปกพลัสที่ประกาศเพิ่มการผลิตต่อเนื่องเริ่มจากเดือน ส.ค.64 และมีการประกาศปรับเพิ่มระดับการผลิตน้ำมันดิบอ้างอิง (baseline production) ให้กับบางประเทศสมาชิกส่งผลให้อุปทานในตลาดปรับเพิ่มมากขึ้น ขณะที่อุปสงค์ยังคงถูกกดดันจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลกรวมถึงสหรัฐฯ และบางประเทศในยุโรป

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

           กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบและประเทศพันธมิตรหรือโอเปกพลัสสามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับเดือน ส.ค. ถึงเดือน ธ.ค.64 ในการประชุมเมื่อวันที่ 18 ก.ค.64 โดยทางกลุ่มมีมติที่จะปรับเพิ่มการผลิตเป็น 4 แสนบาร์เรลต่อวันเพื่อรองรับอุปสงค์ที่ทางกลุ่มเชื่อมั่นว่าจะปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยทางกลุ่มจะเริ่มปรับเพิ่มกำลังการผลิตเริ่มตั้งแต่เดือน ส.ค.64 เป็นต้นไป จนกว่าระดับการผลิตที่ทางกลุ่มมีการปรับลดตั้งแต่ต้นปี 64 จะสิ้นสุดลงในเดือน ก.ย.65

      นอกจากนี้ ที่ประชุมได้บรรลุข้อตกลงที่จะปรับเพิ่มระดับการผลิตอ้างอิง (baseline production) ให้กับบางประเทศสมาชิกซึ่งประกอบไปด้วยคูเวต ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ รัซเซีย รวม 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวันมีผลเริ่มใช้ในเดือน พ.ค.65 เป็นต้นไป ทั้งนี้ทางกลุ่มจะมีการจัดประชุมรายเดือนเพื่อประเมินสถานการณ์ตลาดต่อไปโดยการประชุมครั้งถัดไปจะจัดขึ้นในวันที่ 1 ก.ย. 64

1AAOIL7 26w

           ตลาดได้รับแรงกดดันจากการที่ทั่วโลกมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า หลังจำนวนผู้ติดเชื้อในยุโรปเพิ่มสูงขึ้นแม้ว่าจะมีความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนในภูมิภาคแล้วอย่างมาก ส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศ เช่น สเปนและเนเธอร์แลนด์ประกาศกลับมาใช้มาตรการจำกัดการเดินทางอีกครั้งเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวแม้ว่าจะมีการเปิดประเทศไปแล้วก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม ประกอบกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชียก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องส่งผลกดดันต่อความต้องการใช้น้ำมัน

           อุปทานน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจำนวนแท่นขุดเขาะน้ำมันดิบสหรัฐฯรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอยู่ที่ระดับ 380 แท่น สิ้นสุด ณ วันที่ 16 ก.ค. 64 ขณะที่สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานกำลังการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 16 ก.ค. 64 ปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องราว 2.1 ล้านบาร์เรลสู่ระดับ 439.7 ล้านบาร์เรลสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดราว 4.5 ล้านบาร์เรล

           อิหร่านมีการเปิดท่าเรือขนส่งน้ำมันแห่งใหม่ที่ Bandar-e Jask บริเวณอ่าวโอมานอย่างเป็นทางการหลังโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันสาย Goreh-Jask ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยเส้นทางการลำเลียงน้ำมันดิบของท่อขนส่งน้ำมันสายนี้จะตัดผ่านบริเวณแหลมฮอร์มุซไปยังปากอ่าวโอมานโดยตรงซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งน้ำมันดิบ โดยอิหร่านตั้งเป้าที่จะส่งออกน้ำมันดิบราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวันหากสหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรการขนส่งออกน้ำมันต่ออิหร่าน อย่างไรก็ตามการประชุมเพื่อเจรจรารื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและชาติมหาอำนาจยังจะคงถูกชะงักไปจนกว่าประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านจะมาดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือน ส.ค.64

           สถาบันโกลด์แมน แซคส์ปรับการคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์สำหรับช่วงไตรมาสที่ 3 ลดลง 5 เหรียญต่อบาร์เรลอยู่ที่ระดับ 75 เหรียญต่อบาร์เรลจากปัจจัยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าทั่วโลก อย่างไรก็ตาม โกลด์แมน แซคส์คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 80 เหรียญต่อบาร์เรลได้ในช่วงไตมาสที่ 4 ปีนี้

           การประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป โดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายเงินยูโรของ 19 ประเทศในสหภาพยุโรปที่ระดับ 0% ซึ่งอยู่ที่ระดับต่ำสุดในประวัติการณ์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับธนาคารพาณิชย์ต่อธนาคารกลางอยู่ที่ระดับ -0.5% และอัตราเงินกู้อยู่ที่ระดับ 0.25% นอกจากนี้ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการฉุกเฉินโควิด-19 (Pandemic Emergency Purchase Programme) ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านยูโรต่อไปจนถึงเดือน มี.ค.65 โดยมติจากการประชุมของธนาคารกลางยุโรปจะส่งผลดีต่อภาพเศรษฐกิจที่จะขยายตัวต่อเนื่อง และสามารถช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมัน

           เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ แถลงการณ์นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไตรมาสที่ 2 ของสหรัฐฯ และ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไตรมาสที่ 2 ยูโรโซน

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (19 – 23 ก.ค. 64) 

       ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่ม 0.26 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 72.07 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกันกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่ม 0.51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 74.10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 72.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากความต้องการใช้น้ำมันในยุโรปและสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงฤดูร้อนแม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าปรับเพิ่มสูงขึ้นในบางประเทศแล้วก็ตาม

       ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่ผ่านมามีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาดหลังนักลงทุนเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์จะเพิ่มเข้ามาในตลาดมากกว่าอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากมติปรับเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตร อย่างไรก็ตามราคายังคงถูกกดดันอุปสงค์ในหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงถูกกดดันจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในภูมิภาค

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!