หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค


โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว กำลังผลิตติดตั้งรวม 6.75 เมกะวัตต์ โดยมีวงเงินขออนุมัติ 959.76 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) เงินตราต่างประเทศ 243.83 ล้านบาท และ (2) เงินบาท 715.93 ล้านบาท โดยให้สามารถเกลี่ยงบประมาณระหว่างโครงการได้ ทั้งนี้ ให้ถือว่า กฟผ. ได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี 2567 ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          พน. รายงานว่า 

          1. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว (โครงการฯ) เป็นโครงการฯ ที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (แผน PDP2018 Rev.1) ซึ่งทั้ง 4 โครงการ เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ติดตั้งท้ายเขื่อนของ กรมชลประทาน โดยเป็นการดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกับเขื่อนเพื่อให้สามารถบริหารการจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่กระทบต่อวัตถุประสงค์หลักเดิมของการสร้างเขื่อน รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่นๆ 

          2. กฟผ. ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของทั้ง 4 โครงการ โดยคณะกรรมการการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติเห็นชอบรายงานการศึกษาดังกล่าวแล้ว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

              2.1 ภาพรวมของโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั้ง 4 โครงการ 

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ

วัตถุประสงค์

 

เพื่อช่วยเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ภายในประเทศ และดำเนินการตามนโยบายภาครัฐตามแผน PDP2018 Rev.1 และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)1 รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนตามนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของประเทศไทย

 

แผนการเบิกจ่ายเงิน

 

ปี ..

วงเงิน (ล้านบาท)

2567

495.28

2568

358.21

2569

106.27

รวม

959.76

 

แหล่งเงิน

 

เงินรายได้ของ กฟผ. ร้อยละ 40 และแหล่งเงินทุนอื่นๆ (เงินกู้) ร้อยละ 60 

โดย กฟผ. จะพิจารณาแหล่งเงินทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ ดังนี้

       (1) ค่าใช้จ่ายในส่วนเงินบาท ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกันจากธนาคาร/สถาบันการเงินในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนในประเทศ การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและเงินรายได้ของ กฟผ

       (2) กรณีที่จำเป็นต้องใช้เงินตราต่างประเทศ ใช้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกันจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ธนาคาร/สถาบันเพื่อการนำเข้าส่งออก ธนาคาร/สถาบันการเงินต่างประเทศและ/หรือในประเทศ การออกพันธบัตรลงทุนต่างประเทศ

การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม

 

(1) โครงการฯ ไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้

        - รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) 

        - รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (Environmental and Health Impact Assessment: EHIA) 

        - รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) 

        - รายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (Environmental Site Assessment: ESA)

(2) โครงการฯ ต้องจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า (รายงานสิ่งแวดล้อมฯ) ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมสำหรับการขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า .. 2563

[ปัจจุบันโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคองและเขื่อนลำปาวได้รับความเห็นชอบรายงานสิ่งแวดล้อมฯ เรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนห้วยแม่ท้อและเขื่อนกระเสียวอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมฯ]

 

              2.2 รายละเอียดของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเป็นรายโครงการ

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ

(1) โครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนลำตะคอง

ที่ตั้งโครงการ

 

ตั้งอยู่ท้ายอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมของเขื่อนลำตะคอง บ้านคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูลด้านเทคนิค

 

(1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,500 กิโลวัตต์ (1.50 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด 22 กิโลโวลต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะทาง 2.50 กิโลเมตร ความถี่ระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที

(2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 1.58 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 400 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 1.50 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 2.00 เมกะโวลต์แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง

ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ

 

(1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2566 – พฤศจิกายน 2568)2

(2) กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Scheduled Commercial Operation Date: COD): ภายในปี 2568

วงเงินลงทุน

 

รวมทั้งสิ้น 215.80 ล้านบาท ประกอบด้วย

(1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 55.79 ล้านบาท

(2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 160.01 ล้านบาท

แผนการเบิกจ่ายเงิน

 

ปี ..

วงเงิน (ล้านบาท)

2567

148.61 (รวมกับวงเงินลงทุนของปี .. 2566

จำนวน 45.82 ล้านบาท)

2568

67.19

รวม

215.80

การผลิต/ขายพลังงานไฟฟ้า

 

- ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 10.48 ล้านหน่วย/ปี

- ขายพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 10.32 ล้านหน่วย/ปี

ผลตอบแทนทางการเงิน

 

- อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.18 

- มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) อัตราคิดลดเท่ากับต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Cost of Capital: WACC) ร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 14.98 ล้านบาท

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

 

- อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) อยู่ที่ร้อยละ 8.37

- อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio: B/C Ratio) อยู่ที่ 1.27

ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย

 

2.43 บาท/หน่วย

ระยะเวลาคืนทุน

 

16 ปี 10 เดือน

การขออนุญาตใช้พื้นที่

 

อยู่ระหว่างขอใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์

ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า

 

ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 75,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 1.50 เมกะวัตต์

ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 209,600 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 10.48 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 6.29 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี

ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน

 

- ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี

- ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.01730 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.30 บาทต่อหน่วย) และ (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย

(2) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปาว

ที่ตั้งโครงการ

 

ตั้งอยู่พื้นที่ราบฝั่งขวาริมคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาของเขื่อนลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลด้านเทคนิค

 

(1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 2,500 กิโลวัตต์ (2.50 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด22 กิโลวัตต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ระยะทาง0.1 กิโลเมตร ความถี่ของระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที

(2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 2.63 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 187 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 2.50 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 3.00 เมกะโวลต์แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง

ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ

 

(1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2566 – พฤศจิกายน 2568)2

(2) COD: ภายในปี 2568

วงเงินลงทุน

 

รวมทั้งสิ้น 405.64 ล้านบาท ประกอบด้วย

(1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 90.97 ล้านบาท

(2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 314.67 ล้านบาท

แผนการเบิกจ่ายเงิน

 

 

 

 

ปี ..

วงเงิน (ล้านบาท)

2567

273.72 (รวมกับวงเงินลงทุนของปี .. 2566

จำนวน 95.08 ล้านบาท)

2568

131.92

รวม

405.64

การผลิต/ขายพลังงานฟ้า

 

- ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 14.37 ล้านหน่วย/ปี

- ขายพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 14.15 ล้านหน่วย/ปี

ผลตอบแทนทางการเงิน

 

- อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.16 

- NPV อัตราคิดลดร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 27.48 ล้านบาท

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

 

- EIRR อยู่ที่ร้อยละ 8.19

- B/C Ratio อยู่ที่ 1.27

ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย

 

3.10 บาท/หน่วย

ระยะเวลาคืนทุน

 

16 ปี 10 เดือน

การขออนุญาตใช้พื้นที่

 

กรมธนารักษ์อนุญาตให้ กฟผ. เช่าที่ราชพัสดุเรียบร้อยแล้ว

ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า

 

ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 125,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 2.50 เมกะวัตต์

ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 287,400 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 14.37 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 8.62 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี

ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน

 

- ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี

- ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.0064 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.28 บาทต่อหน่วย) และ (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย

(3) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนห้วยแม่ท้อ

ที่ตั้งโครงการ

 

ตั้งอยู่ท้ายเขื่อนบริเวณอาคารควบคุมการส่งน้ำลงลำน้ำเดิมของเขื่อนห้วยแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

ข้อมูลด้านเทคนิค

 

(1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,250 กิโลวัตต์ (1.25 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด 22 กิโลโวลต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ระยะทาง 1.0 กิโลเมตร ความถี่ของระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที

(2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 1.32 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 500 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 1.25 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 1.75 เมกะโวลต์แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง

ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ

 

(1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2567 – พฤศจิกายน 2569)

(2) COD: ภายในปี 2569

วงเงินลงทุน

 

รวมทั้งสิ้น 161.18 ล้านบาท ประกอบด้วย

(1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 48.91 ล้านบาท

(2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 112.27 ล้านบาท

แผนการเบิกจ่ายเงิน

 

ปี ..

วงเงิน (ล้านบาท)

2567

34.98

2568

75.72

2569

50.48

รวม

161.18

การผลิต/ขายพลังงานไฟฟ้า

 

- ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 6.41 ล้านหน่วย/ปี

- ขายพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 6.31 ล้านหน่วย/ปี

ผลตอบแทนทางการเงิน

 

- อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.18 

- NPV อัตราคิดลดร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 11.20 ล้านบาท

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

 

- EIRR อยู่ที่ร้อยละ 8.56 

- B/C Ratio อยู่ที่ 1.28

ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย

 

3.00 บาท/หน่วย

ระยะเวลาคืนทุน

 

16 ปี 10 เดือน

การขออนุญาตใช้พื้นที่

 

อยู่ระหว่างขอใช้ประโยชน์ในที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า

 

ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 62,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 1.25 เมกะวัตต์

ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 128,200 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 6.41 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 3.85 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี

ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน

 

- ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี

- ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.02100 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.32 บาทต่อหน่วย) และ (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย

(4) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกระเสียว

ที่ตั้งโครงการ

 

ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมของเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ข้อมูลด้านเทคนิค

 

(1) เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,500 กิโลวัตต์ (1.50 เมกะวัตต์) สายส่งขนาด 22 กิโลโวลต์ จำนวน 1 วงจร เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร ความถี่ของระบบไฟฟ้า 50 รอบ/วินาที

(2) ติดตั้งเครื่องกังหันน้ำ (ชนิด Reaction Turbine) ขนาดกำลังการผลิต 1.58 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วรอบสูงสุด 428 รอบ/นาที เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 1.50 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหม้อแปลงไฟฟ้า พิกัดกำลัง 2.00 เมกะโวลต์แอมแปร์ จำนวน 1 เครื่อง

ระยะเวลาก่อสร้าง/กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ

 

(1) ระยะเวลาก่อสร้าง: 24 เดือน (ธันวาคม 2567 – พฤศจิกายน 2569) 

(2) COD: ภายในปี 2569

วงเงินลงทุน

 

รวมทั้งสิ้น 177.14 ล้านบาท ประกอบด้วย

(1) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ จำนวน 48.16 ล้านบาท

(2) เงินลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ในประเทศและการก่อสร้าง จำนวน 128.98 ล้านบาท

แผนการเบิกจ่ายเงิน

 

 

ปี ..

วงเงิน (ล้านบาท)

2567

37.96

2568

83.39

2569

55.79

รวม

177.14

การผลิต/ขายพลังงานไฟฟ้า

 

- ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 7.95 ล้านหน่วย/ปี

- ขายพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 7.83 ล้านหน่วย/ปี

ผลตอบแทนทางการเงิน

 

- อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Project Internal Rate of Return) อยู่ที่ร้อยละ 5.18 

- NPV อัตราคิดลดร้อยละ 5.26 อยู่ที่ 12.33 ล้านบาท

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

 

- EIRR อยู่ที่ร้อยละ 8.52 

- B/C Ratio อยู่ที่ 1.27

ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ย

 

2.66 บาท/หน่วย

ระยะเวลาคืนทุน

 

16 ปี 10 เดือน

การขออนุญาตใช้พื้นที่

 

อยู่ระหว่างขอใช้ประโยชน์ในที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า

 

ระหว่างก่อสร้าง: ประมาณ 75,000 บาท (50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ x 1.50 เมกะวัตต์

ระหว่างดำเนินการผลิต: 0.02 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 159,000 บาทต่อปี (0.02 บาทต่อหน่วย x 7.95 ล้านหน่วย/ปี) หรือประมาณ 4.77 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี

ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทน

 

- ค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์ 0.50 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 15 ล้านบาท ตลอดอายุโครงการ 30 ปี

- ค่าตอบแทนกรมชลประทาน: (1) อัตราค่าน้ำที่ผ่านเครื่องกังหันน้ำช่วงเดินเครื่องประมาณ 0.01370 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (ประมาณ 0.31 บาทต่อหน่วย) และ (2) พลังงานไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมของกรมชลประทาน 0.25 ล้านหน่วยต่อปี โดยจ่ายให้ กฟภ. 4 บาทต่อหน่วย

 

         3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ ดังนี้

              3.1 เพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศตามแผน PDP2018 Rev.1 เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดและในภูมิภาค ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นไปตามนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero greenhouse gas emission) 

              3.2 ประชาชนในประเทศได้ใช้พลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ เนื่องจากสามารถเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้รวดเร็วภายในเวลา 5 นาที และสามารถเพิ่มหรือลดพลังงานได้ตามความต้องการของระบบไฟฟ้า และไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

 

ผลประโยชน์โครงการฯ

เฉลี่ยต่อปี

รวมตลอดอายุโครงการ 30 ปี

หน่วย

(1) ทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ

254,630

7,638,900

ล้านบีทียู

62.13

425.39

ล้านบาท

(2) สนับสนุนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยการขาย REC3

1.93

5.10

ล้านบาท

(3) ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

20,166

604,971

ตันคาร์บอนไดออกไซด์

 

              3.3 ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กองทุนพัฒนาไฟฟ้า4 เป็นต้น

              3.4 ส่งเสริมงานวิจัยเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและพัฒนาความรู้ของบุคลากร กฟผ. 

              3.5 เป็นการบูรณาการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

              3.6 ส่งเสริมงานประชาสัมพันธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ กฟผ. 

______________________

1 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 (AEDP2015) มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง (2) การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (3) การแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน (4) การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid (5) การประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน และ (6) การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร

2 พน. แจ้งว่า จะเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ในปี 2567 

3 Renewable Energy Certificate (REC) หรือ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน เป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ช่วยสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านการซื้อและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีหน่วยการซื้อขายคือ REC (ไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 REC) 

4 กองทุนพัฒนาไฟฟ้า คือ กองทุนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้มีการให้บริการไฟฟ้าไปยังท้องที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น พัฒนาชุมชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยคำนึงถึงความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รองนายกรัฐมนตรี) 18 มิถุนายน 2567

 

 

6568

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!