หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

STARKชนินทร์ วนรัชต์


STARK ความคืบหน้าดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) มีผู้เสียหาย เข้ามาลงทะเบียน 1,207 ราย เป็นการฟ้องคดีแพ่งฐานละเมิดและการกระทำความผิด พรบ.หลักทรัพย์

 

แจ้งความคืบหน้าของการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) สำหรับ ผู้เสียหายกลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ STARK ครั้งที่ 1/2567

 

ต้นเรื่อง

จากความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณี บริษัท สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) STARK โดยมีการแถลงข่าวร่วมกันของ 11 องค์กร เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สนับสนุนให้สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (TIA) เป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ลงทุนรายบุคคลที่ลงทุนในหุ้นสามัญ (กรณีหุ้นกู้ มีตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับผิดชอบอยู่แล้ว) ในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action)

ในการนี้ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยจึงทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนผู้เสียหายกลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญตามกระบวนการยุติธรรมให้บังเกิดผล โดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

การแจ้งข้อมูล ความคืบหน้า

การดำเนินการของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยในการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายกลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ STARK มีการดำเนินการ ดังนี้

            1.เปิดระบบออนไลน์ลงทะเบียนผู้เสียหายที่ลงทุนในหุ้นสามัญ STARK รอบที่ 1: ระหว่าง วันที่ 19-25 มิถุนายน 2566 มีผู้เสียหายเข้ามาลงทะเบียน 1,759 ราย รวมมูลค่าความเสียหาย 4,039 ล้านบาท

            2.เชิญประชุมผู้เสียหายที่ลงทะเบียน ในข้อ 1. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เสียหายคัดเลือก “โจทก์ตัวแทนผู้เสียหาย”

            3.เปิดระบบออนไลน์ ลงทะเบียนผู้เสียหายหุ้นสามัญ STARK รอบที่ 2: ระหว่าง 17-30 เมษายน 2567 มีผู้เสียหาย เข้ามาลงทะเบียน จำนวน 1,207 ราย

 

ข้อมูลการดำเนินคดีแบบกลุ่ม

            เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา โจทก์ตัวแทนผู้เสียหาย (“โจทก์ฯ”) กลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ STARK ได้ยื่นฟ้อง STARK บริษัทในเครือ และกรรมการที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด รวม 10 ราย เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ. 1061/2567 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และโจทก์ฯได้ประสานงานกับสมาคมฯ เพื่อขอให้แจ้งข่าวสารแก่ผู้เสียหายรายอื่นๆ ด้วย โดยการฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องคดีแพ่งฐานละเมิดและการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อเรียกค่าเสียหาย และขอดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) เพื่อให้ผลของคำพิพากษาครอบคลุมไปถึงกลุ่มผู้เสียหายที่เป็นผู้ลงทุนในหุ้นสามัญรายอื่นๆ ด้วย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

            1.ขอบเขตของสมาชิกกลุ่มผู้เสียหายกลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ คือ เป็นบุคคลที่เข้าซื้อหรือขายหุ้นสามัญของ STARK ในช่วงระยะเวลาแห่งความเสียหาย (Class Period) กล่าวคือ ในช่วงเวลาระหว่าง วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 - วันที่ 16 มิถุนายน 2566 (ช่วงที่มีการเผยแพร่งบการเงินเท็จของ STARK)

            2. การเข้าซื้อหุ้น ในข้อ 1. สามารถแบ่งประเภทผู้เสียหายออกเป็น 3 กลุ่มย่อย (Sub-Class) ได้แก่ 1. ผู้เสียหายที่เข้าซื้อหุ้นสามัญ STARK และยังถือหุ้นอยู่/ 2. ผู้เสียหายที่เข้าซื้อหุ้นสามัญ STARK และขายหุ้นออกบางส่วน/ 3. ผู้เสียหายที่เข้าซื้อหุ้นสามัญ STARK และขายหุ้นออกแล้วทั้งหมด

            3.การเรียกค่าเสียหายเป็นการเรียกค่าเสียหายโดยคำนวณจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่ซื้อขายกับราคาหุ้นที่แท้จริงของ STARK ที่ควรจะเป็นหากไม่มีการเปิดเผยข้อมูลงบการเงินเท็จ ซึ่งหลักในการคำนวณค่าเสียหายดังกล่าวสามารถปรับใช้กับผู้เสียหายทุกกลุ่มย่อยตามข้อ 2. ได้

            4.หากท่านเป็นผู้เสียหายกลุ่มผู้ลงทุนในหุ้นสามัญตาม ข้อ 1. และ ข้อ 2. ข้างต้น ทุกท่านได้ถูกนับรวมอยู่ใน สมาชิกกลุ่มของการดำเนินคดีแบบกลุ่ม - Class Action และหากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มก็จะส่งผลให้ทั้งโจทก์ฯ และสมาชิกกลุ่มมีผลทางคดีร่วมกัน

 

การดำเนินการในช่วงต่อไป

            1. วันที่ 6 มิถุนายน 2567 โจทก์ฯ ได้ยื่นคำฟ้องและคำร้องขอดำเนินคดีแบบกลุ่ม ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.1061/2567

            2. วันที่ 6 - 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 -16. 30 น. ศาลนัดสืบพยานในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีแบบกลุ่ม ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้

 

การดำเนินการ ตามกระบวนการยุติธรรม

      สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ทำหน้าที่ช่วยเหลือ ประสานงาน อำนวยความสะดวก ให้กับกลุ่มตัวแทนโจทก์ผู้เสียหาย ตลอดจนทำหน้าที่ในการแจ้งความคืบหน้า (กรณีเมื่อมีความคืบหน้า) ตามข้อมูลที่กลุ่มตัวแทนโจทก์ผู้เสียหายแจ้งมา ผ่านช่องทางการสื่อสาร คือ 1) ระบบออนไลน์ ตามอีเมล์ของแต่ละบุคคลที่ลงทะเบียนไว้กับสมาคมฯ 2) ระบบออนไลน์ ในหน้าเว็บไซต์ ของสมาคมฯ คือ www.thaiinvestors.com (ชื่อเมนู Class Action)

     หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมอย่างไร สมาคมฯ จะแจ้งให้ทุกท่านทราบต่อไป

     สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

    ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษผู้กระทำผิด 5 ราย ได้แก่ (1) บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) และอดีตกรรมการและ/หรืออดีตผู้บริหารของ STARK ได้แก่ (2) นายชนินทร์ เย็นสุดใจ (3) นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ (4) นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ และ (5) นายประกรณ์ เมฆจำเริญ ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความอันอาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของ STARK และรายงานการดำเนินการต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

      สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ในระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2565 - 30 มกราคม 2566 STARK ได้เปิดเผยสารสนเทศผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุนที่ได้รับจากการขายหุ้นเพิ่มทุนโดยจัดสรรให้บุคคลในวงจำกัด (PP) จำนวน 5,580 ล้านบาท และการจัดทำโครงการซื้อหุ้นคืน ทั้งที่ในช่วงเวลานั้น เงินเพิ่มทุน PP จำนวนดังกล่าวถูกนำออกไปใช้จ่ายจนหมดแล้ว และ STARK ไม่ได้มีกำไรสะสมและสภาพคล่องเพียงพอที่จะจัดทำโครงการซื้อหุ้นคืนตามที่ได้เปิดเผยสารสนเทศ ซึ่งข้อความที่เผยแพร่ดังกล่าวเป็นการเผยแพร่ข้อความเท็จและข้อความอันอาจทำให้ประชาชนและผู้ลงทุนสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของ STARK

      ทั้งนี้ ในขณะเกิดเหตุ นายชนินทร์ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท นายศรัทธาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน เลขานุการ และกรรมการบริษัท นายวนรัตน์ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท และนายประกรณ์ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริษัท อีกทั้ง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษบุคคลทั้ง 4 ราย กรณีมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกรณีตกแต่งงบการเงินปี 2565 ของ STARK บุคคลดังกล่าวจึงอยู่ในฐานะที่ทราบได้ว่า STARK มิได้มีกำไรสะสมและสภาพคล่องเพียงพอในการจัดทำโครงการซื้อหุ้นคืน นอกจากนี้ นายชนินทร์และนายศรัทธายังทราบข้อเท็จจริงว่า เงินเพิ่มทุน PP จำนวน 5,580 ล้านบาท ได้ถูกนำออกไปใช้จ่ายจนหมดแล้ว โดยบุคคลทั้ง 4 รายมีส่วนร่วมในการดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของ STARK ดังกล่าว

      การกระทำของ STARK เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 240 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 296 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน โดยนายชนินทร์ นายศรัทธา นายวนรัชต์ และนายประกรณ์ ในฐานะเป็นบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล สั่งการหรือกระทำการ หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ เป็นเหตุให้ STARK กระทำความผิดในกรณีข้างต้นจึงต้องรับโทษเดียวกันตามมาตรา 300 ประกอบมาตรา 240 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษนิติบุคคลและบุคคลทั้ง 5 ราย ต่อ DSI เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ยังได้แจ้งการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ข้างต้น ต่อ ปปง. ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

     อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นขั้นตอนในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตลอดจนดุลพินิจของศาลยุติธรรม ตามลำดับ ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดีต่อไป และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว

      นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษก ก.ล.ต. กล่าวว่า "การกล่าวโทษในครั้งนี้ เป็นการขยายผลการตรวจสอบเพื่อดำเนินการกับผู้กระทำผิดเพิ่มเติม จากที่ ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษบุคคลที่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับกรณีตกแต่งงบการเงินปี 2565 ของ STARK จึงขอให้มั่นใจว่า ก.ล.ต. ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด รวมถึงประสานความร่วมมือและติดตามความคืบหน้ากับ DSI และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง"

 

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!